เมนู

บทว่า กุลปุตฺตา อุเปนฺติ อตฺถวสิกา อตฺถวสํ ปฏิจฺจ ความว่า
กุลบุตรโดยชาติ และกุลบุตรโดยอาจาระในศาสนาของเราเป็น
ผู้อยู่ในอำนาจแห่งผล อยู่ในอำนาจแห่งเหตุ คืออาศัยอำนาจแห่งผล
อำนาจแห่งเหตุจึงประกอบ (การเที่ยวแสวงหาคำข้าว).

อธิบายศัพท์ ราชาภินีตะ เป็นต้น


ในบทว่า ราชาภินีตา เป็นต้น พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ :-
กุลบุตรเหล่าใด กินของพระราชาแล้วถูกจองจำในเรือนจำหลวง
(ต่อมา) หนีได้จึง (ไป) บวช กุลบุตรเหล่านั้นชื่อว่า ราชาภินีตะ.
ก็กุลบุตรเหล่านั้นชื่อว่า ราชาภินีตะ เพราะถูกนำไปเครื่องจองจำ
ของพระราชา.
ส่วนกุลบุตรเหล่าใด ถูกโจรจับได้ในป่าทึบ เมื่อบางพวกถูกโจร
นำไป บางพวกก็พูดว่า นาย เราทั้งหลายอันพวกท่านปล่อยแล้วก็
จักไม่อยู่ครองเรือนหรอก (แต่) จักบวช ในการบวชนั้น เราจักให้
ส่วนบุญแก่พวกท่านจากบุญมีการบูชาพระพุทธเจ้าเป็นต้น ที่พวกเรา
จักทำ กุลบุตรเหล่านั้นอันโจรเหล่านั้นปล่อยแล้วจึง (ไป) บวช
กุลบุตรเหล่านั้นชื่อว่า โจราภินีตะ.
ก็กุลบุตรเหล่านั้นชื่อว่า โจราภินีตะ เพราะหมายความว่า
ถูกพวกโจรนำไปให้ถูกฆ่าตาย.
ส่วนกุลบุตรเหล่าใดติดหนี้แล้วไม่สามารถใช้คืนให้ได้จึงหนี
ไปบวช กุลบุตรเหล่านั้นชื่อว่า อิณัฏฏะ (ติดหนี้) หมายความว่า
ถูกหนี้บีบคั้น บาลีเป็น อิณฏฺฐา ก็มี หมายความว่า ตั้งอยู่ในหนี้ (ติดหนี้)